31/12/54

นั่งคุยกันก่อนครับ

              สืบเนื่องจากประสบการ์ณตรงของตัวเอง นับจากได้รับอุบัติเหตุ เมื่อ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๔  ทำให้ชีวิตได้แปรเปลี่ยน จากคนทั่วๆไปกลายมาเป็นคนพิการ กระดูกสันหลังหักกดทับไขสันหลัง หรือ ผู้บาดเจ็บไขสันหลัง ถึงจะผ่านระยะเวลาล่วงเลยมาหลายปีแล้ว แต่ก็ยังคงอยู่ในความทรงจำว่า มันไม่ง่ายเลยนะ ที่จะก้าวข้ามเส้นปัญหา อุปสรรคนานัปประการ นอกจากจะมีจิตใจที่เข้มแข็งแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุด...

บาดเจ็บไขสันหลัง

          บาดเจ็บไขสันหลัง จากกระดูกสันหลังหักกดทับไขสันหลัง  มีคนจำนวนไม่น้อยที่ได้รับบาดเจ็บไขสันหลัง ส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุทางจราจร ตกจากที่สูง หรือถูกยิง ทำให้กระดูกสันหลังหักเคลื่อนกดทับไขสันหลัง บางคนเป็นโรคที่ไขสันหลัง ทำให้มีอาการ ชา อ่อนแรง อาจรุนแรงจนเป็น อัมพาต และกลายเป็นคนพิการทุพพลภาพ แต่ก็มีบางคนอาการดีขึ้น...

29/12/54

การขับถ่ายปัสสาวะ

                  คนเรามีไตอยู่ 2 ข้างของกระดูกสันหลังระดับอกต่อเอว ไตทำหน้าที่กลั่นกรองเอาของเสียออกจากเลือด ได้เป็นน้ำปัสสาวะที่มีสีเหลืองใส ไหลผ่านหลอดไตเข้าสู่ กระเพาะปัสสาวะ           กระเพาะปัสสาวะ มีหน้าที่เก็บปัสสาวะ โดยมี หูรูด กั้นไม่ให้ปัสาสาวะไหลเล็ดออกมา เมื่อมีปัสสาวะประมาณ 300-500 มิลลิลิตร...

การขับถ่ายอุจจาระ

       หลังจากไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทำไมจึงมีอาการท้องอืดและท้องผูก ?                 ในระยะแรก กระเพาะอาหารและลำไส้บีบตัวและเคลื่อนไหวลดน้อยลง จึงมีอาการท้องอืดและไม่ถ่ายอุจจาระ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องให้น้ำและสารอาหารทางหลอดเลือดแทนการกิน จนกว่ากระเพาะอาหารและลำไส้จะกลับมาทำงานปกติอีกครั้ง บางคนมีกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มมากขึ้นเพราะตกอยู่ในภาวะเครียด...

28/12/54

สมรรถภาพทางเพศ

         อวัยวะเพศและระบบสืบพันธุ์ ถูกควบคุมด้วยระบบประสาท ฮอร์โมนและหลอดเลือด ดังนั้น เมื่อไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ระบบสืบพันธุ์จึงทำงานบกพร่อง ผู้ชายมีการแข็งตัวของอวัยวะเพศหรือการหลั่งน้ำอสุจิน้อยลง ส่วนผู้หญิงนั้น ในระยะแรกๆ ความเครียดทำให้ระดูหรือประจำเดือนขาดหาย ไข่ไม่ตก ไประยะหนึ่ง ( 3 - 6 เดือน ) แล้วจึงกลับมาเป็นปกติ และในขณะร่วมเพศการขยายตัวของอวัยวะเพศและน้ำหล่อลื่นในช่องคลอดมักลดน้อยลง  ...

กล้ามเนื้อเกร็งกระตุก

      ไขสันหลังที่ได้รับบาดเจ็บ ไม่สามารถนำกระแสประสาทสั่งการ จากสมองมาถึงเซลล์ประสาทสั่งการ และไม่สามารถรับความรู้สึกจากส่วนต่างๆ ไปรายงานยังสมองได้ กล้ามเนื้อจึงมักเกร็งกระตุกเอง ควบคุมไม่ได้    บางครั้ง แขน ขา เกร็งเหยียด บางครั้งเกร็งงอ ไม่แน่นอน กล้ามเนื้อและเอ็นจึงหดยึด ข้อเคลื่อนไหวได้น้อยลง และติดยึดในเวลาต่อมา อาการเกร็งอาจเกิดต่อเนื่อง...